ลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง อัปเดตรายการลดหย่อนที่ทุกคนใช้สิทธิได้

ลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
Categories:

เพื่อการวางแผนประหยัดภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ คุณต้องทราบว่ารายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นสิ่งที่คุณควรทราบแล้ว คุณยังต้องหมั่นอัปเดตรายการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีด้วยว่า มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงขึ้นบ้าง เพื่อไม่ให้คุณพลาดสิทธิประโยชน์ที่มีความคุ้มค่า ซึ่งในบทความนี้เราจะไปสำรวจรายการลดหย่อนภาษีประจำปี 2566 กันว่ามีรายการอะไรบ้าง เพื่อให้คุณได้เตรียมเอกสารได้อย่างถูกต้อง

อัปเดตรายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง ก่อนเริ่มต้นวางแผนประหยัดภาษี

วิธีการวางแผนประหยัดภาษีที่ดี คุณควรมีความเข้าใจในรายละเอียดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็นหน้าที่ของคุณก่อน จากนั้นให้คุณศึกษาในรายละเอียดของรายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง เพื่อใช้ประกอบในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในปัจจุบันการยื่นภาษีสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมสรรพากรได้ หรือจะไปยื่นแบบฟอร์มด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้านก็ได้เช่นกัน และรายการลดหย่อนภาษีอัปเดตปี 2566 ได้แก่

ลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ประกอบไปด้วย
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว หักได้ 60,000 บาท นับเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้มีรายได้ทุกคน สามารถลดหย่อนภาษีได้ทันที
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรสหักได้ 60,000 บาท แต่คู่สมรสต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ และต้องจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้อง หากคู่สมรสมีรายได้ สามารถพิจารณาว่าจะยื่นรายได้รวมกันหรือแยกกัน
  • ค่าลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้างสำหรับบุตร อันดับแรกคือ บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือมีอายุระหว่าง 21-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาขึ้นไป และแบ่งแยกย่อยออกไปอีก คือ
  • บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
  • บุตรที่เกิดหลังปี 2561 คนที่ 1 หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท ส่วนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  • หากเป็นบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับรองถูกต้องตามกฎหมาย และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน และหากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วย ต้องใช้สิทธิลดหย่อนก่อน จึงจะใช้สิทธิบุตรบุญธรรมส่วนที่เหลือจนครบ 3 คนได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร จะหักได้ตามค่าใช้จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท/ครั้ง หากตั้งครรภ์ฝาแฝดจะนับเป็น 1 ครรภ์
  • ค่าลดหย่อนอุปการะบิดามารดา หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาจะต้องเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
  • ค่าลดหย่อนอุปการะคนพิการ หรือผู้ทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
  1. ค่าลดหย่อนจากการออม การลงทุน และการซื้อประกัน
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • ประกันชีวิตสามารถลดหย่อนได้เท่ากับเบี้ยที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ที่ทำต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุ หักลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อนำไปรวมกับประกันชีวิต และประกันแบบสะสมทรัพย์ จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำยอดซื้อไปหักลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวม (SSF) สามารถนำยอดซื้อไปหักลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 
  • เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ทั้งนี้หากจะคำนวณหาค่าลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้างให้ถูกต้องสำหรับส่วนที่ 2 นี้ ข้อสำคัญคือ เมื่อนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ มารวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ต้องรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

  1. การบริจาค
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคสถานศึกษา และสถานพยาบาล หักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  1. ค่าลดหย่อนภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด
  • ดอกเบี้ยบ้าน สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • โครงการช้อปดีมีคืน เพื่อการลดหย่อนภาษีปี 2566 หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท

ได้ทราบกันไปแล้วว่า รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้างสำหรับปี 2566 ซึ่งจะได้เห็นว่าบางรายการเป็นโครงการจากภาครัฐบาลที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ลดหย่อนภายในปีภาษี ดังนั้นดังที่กล่าวไปตั้งแต่ต้น รายการลดหย่อนภาษีจำเป็นต้องหมั่นติดตามความเคลื่อนไหว และความเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี เพื่อให้การวางแผนภาษีไม่มีข้อผิดพลาด และใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ที่สำคัญจัดเตรียมเอกสารและรายการอ้างอิงต่าง ๆ ให้พร้อมตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้ได้มีเวลาทบทวนว่า มีรายการอะไรที่ขาดตกบกพร่องบ้าง และอย่าลืมว่า หากรายได้ขั้นต่ำถึงเกณฑ์ ต่อให้คำนวณภาษีแล้วไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องชำระภาษี แต่ก็ต้องยื่นแบบภาษีทุกครั้ง